• โรงเรียนโฆสิตสโมสร
    51/2 ซ.วัดระฆัง ต.ศิริราช อ.เขตบางกอกน้อย จ.กรุงเทพมหานคร 10700
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

  • โรงเรียนโฆสิตสโมสร
    51/2 ซ.วัดระฆัง ต.ศิริราช อ.เขตบางกอกน้อย จ.กรุงเทพมหานคร 10700
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ประวัติโรงเรียน


                                    

       อาคารที่สร้างเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวด้านเหนือพระอุโบสถ เมื่อ ร.ศ. 126 ซึ่งตรงกับพ.ศ. 2450 โดยพบหลักฐานเมื่อรื้ออาคารเรียนเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นป้ายไม้สลักรูปโบว์ ชายอยู่หน้าจั่วอักษร ร.ศ.126 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2450 อาคารเรียนที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 เป็นเรือนปั้นหยาไม้ชั้นเดียว บันไดกว้างขึ้น-ลง ตรงกลางทาสีเทาหรือสีเรือรบทั้งหลังหันหน้าเข้าหาพระอุโบสถหรือทิศใต้มีถนนซีเมนต์กั้นกลางอยู่จนบัดนี้ ตั้งชื่อว่า โรงเรียนโฆสิตสโมสร ทราบวา พลโท พระยาสโมรสรสรรพาการ ( ทัด ศิริสัมพันธ์) เป็นผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงคุณหญิงสโมสรสรรพาการโรงเรียนโฆสิตสโมสร  ไม่มีชั้นประถม    (โรงเรียนประถม คือ โรงเรียนวัดระฆัง) มีชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-2-3-4-5 ส่วนมัธยม 6 จะไปเรียนฝั่งพระนคร เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ เบญจมบพิตร เป็นต้น
        โรงเรียนโฆสิตสโมสร สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้เปลี่ยนแปลงมาลำดับดังนี้
        พ.ศ.2477  กระทรวงศึกษาธิการ ได้ย้ายนักเรียน ไปรวมกับโรงเรียนวัดอมรินทราราม ส่วนอาคารเรียนมอบให้โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
        พ.ศ.2497  กรมวิสามัญศึกษาได้โอนอาคารเรียนโฆสิตสโมสร รวมทั้งนักเรียนมัธยมปีที่ 1-3 ของโรงเรียนสตรีวัดระฆังให้มาขึ้นกับกรมสามัญศึกษาโดยสังกัดในแผนกมัธยมศึกษา กองการศึกษาพิเศษ
        พ.ศ.2500  อาคารก็ชำรุดอีกกรมสามัญศึกษาจึงได้รื้อถอนแล้วปลูกสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้นประเภทถาวรรูปตัว E ขึ้นในปีเดียวกันมีห้องเรียน 23 ห้อง และห้องประชุมอีก 1 ห้อง เปิดทำการสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษา (ประถมตอนปลาย ป. 5-7)
        พ.ศ.2502  ทางจังหวัดธนบุรีได้คัดเลือกให้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนปรับปรุงของจังหวัดธนบุรี และตั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ของจังหวัดธนบุรีขึ้นในโรงเรียนโฆสิตสโมสร  ซึ่งมีนายสมาน แสงมะลิ เป็นหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์
        พ.ศ.2509   ได้มีการโอนโรงเรียนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่โรงเรียนโฆสิตสโมสรทางจังหวัดธนบุรีนั้นทางโรงเรียนได้เลือกไว้เป็นโรงเรียนทดลองทางวิชาการ จึงอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการตลอดไป
        พ.ศ.2517   ทางราชการได้ยุบจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดกรุงเทพมหานครโรงเรียนโฆสิตโมสร ซึ่งอยู่ในส่วนสังกัดจังหวัดธนบุรีได้โอนมาเป็นโรงเรียนส่วนกลาง สังกัดกองการศึกษาพิเศษกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการกรุงเทพมหานคร
        พ.ศ.2520  ได้รื้ออาคารไม้ และสร้างตึก4 ชั้นแทน เป็นอาคารเรียนในคอนกรีตราคา 4,200,000 บาท เปิดทำการสอน 24 ห้องเรียน
        พ.ศ.2523  ได้โอนจากกรมสามัญศึกษามาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
        พ.ศ.2524  ต่อเติมอาคารเรียนเพิ่มอีกชั้นละ 1 ห้องเรียนรวม 4 ห้องเรียน 
        พ.ศ.2524  โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ป.1-6 ชั้นละ 5 ห้องเรียนรวม 30 ห้องเรียน 
        พ.ศ.2531  ต่อเติมอาคารเรียนเต็มรูปแบบ (อาคารเรียนปัจจุบัน)
        พ.ศ.2533  โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ป.1-6 รวม 30 ห้องเรียนได้รับเงินบริจาคสร้างเสาธงเทพื้นคอนกรีต สร้างโรงอาหาร
        พ.ศ.2534  โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ป.1-6 รวม 32 ห้องเรียน
        พ.ศ.2538  จัดการศึกษา ป.1-6 ชั้นละ 5 ห้องเรียนรวม 30 ห้องเรียน ได้รับงบประมาณโครงการพัฒนาพิเศษตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ศ. มารุตบุนนาค) จัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษาขนาด 48 ที่นั่ง เป็นเงิน 312,000  บาท 
        พ.ศ.2540   จัดการศึกษา ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 31 ห้องเรียน และการศึกษาพิเศษได้รับ เลือกเป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษารุ่นที่ 2 ได้รับงบประมาณห้องปฏิบัติการทางภาษาจำนวน 30 ที่นั่งเป็นเงิน 350,000 บาท ทางโรงเรียนหาเงินบริจาคเพิ่มเติมอีก 16 ที่นั่งเป็นเงิน  85,720  บาท งบประมาณพัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เป็น ค่าครุภัณฑ์ 14 รายการเป็นเงิน  162,200  บาทเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ประจำห้อง จำนวน 56 รายการ เป็นเงิน  37,800 บาท
        พ.ศ.2540-2541 ซ่อมแซมห้องน้ำนักเรียนห้องน้ำครูในอาคารชั้น 1,2,3  ทั้งหมดโดยปูพื้นกระเบื้องเปลี่ยนท่อระบายน้ำทิ้ง เปลี่ยนฝ้าเพดาน ทาสีและอื่น ๆ เปลี่ยนพื้นบันไดอาคารเรียนและเวทีในโรงอาหารจากปูกระเบื้องยางเป็นหินขัดด้วยเงินบริจาค เป็นเงิน 340,000 บาท (สามแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
        พ.ศ.2541 เปลี่ยนประตูเหล็กอาคารเรียนทั้ง 4 ประตู ด้วยงบประมาณและเงินบริจาคเป็นเงินทั้งสิ้น 36,000  บาท   (สามหมื่นหกพันบาทถ้วน)  จัดทำห้องคอมพิวเตอร์ และซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน 25 เครื่องเป็นเงินทั้งสิ้น 1,039,205.00   (หนึ่งล้านสามหมื่นเก้าพันสองร้อยห้าบาทถ้วน)                                           โดยวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร บริจาคเป็นเงิน 1,000,000.- (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ผู้ปกครองนักเรียนร่วมบริจาค 39,205.00 บาท (สามหมื่นเก้าพันสองร้อยห้าบาทถ้วน)
        พ.ศ.2543   ซ่อมแซมและทาสีอาคารเรียนโดยเงินผ้าป่าการศึกษาจำนวน 332,978.00  บาท (สามแสนสามหมื่นสองพันเก้า ร้อยเจ็ดสิบแปดบาทถ้วน) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารบริจาคสมทบอีก  340,000  (สามแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)  รวมเป็น เงิน 672,978 บาท  (หกแสนเจ็ดหมื่นสองพันเก้าร้อยเจ็ดสิบแปดบาทถ้วน)
        พ.ศ.2544   ทารั้วด้านหน้าโรงเรียนตลอดแนวเป็นรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กและประตูอัลลอยด์โดยวัดระฆังเป็นผู้บริจาคให้เป็น จำนวน 996,000.00               (เก้าแสนเก้าหมื่นหกพันบาทถ้วน)และมอบป้ายชื่อโรงเรียนเป็นป้ายหินแกรนิตราคา 26,680.00 บาท (สองหมื่นหกพันหกร้อยแปดสิบบาทถ้วน) รวมทั้งสิ้น 1,022,680.00 บาท (หนึ่งล้านสองหมื่นสองพันหกร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
        พ.ศ.2545   ปรับปรุงไฟฟ้าภายนอกและภายในอาคารเรียนด้วยเงินงบประมาณเป็นเงิน 1,627,920.00 บาท  (หนึ่งล้านหกแสนสองหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
        พ.ศ.2546  โรงเรียนโฆสิตสโมสร ได้รับอุปกรณ์สัญญาณดาวเทียม เพื่อการศึกษาทางไกลจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (IRD) เครื่องรับโทรทัศน์ 6 เครื่อง  โรงเรียนได้ทอดผ้าป่า การศึกษาติดตั้งโทรทัศน์เพิ่มอีก 30 เครื่อง พร้อมค่าติดตั้งเป็นเงิน 285,600 บาท สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติประเมินมาตรฐานเป็นโรงเรียนมาตรฐาน 5 ดาว โรงเรียนได้ผ่านการประเมินมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ได้ปรับปรุงสนามโดยเทพื้นคอนกรีต ยกระดับให้สูงขึ้นประมาณ 20 ซ.ม. ทำสนามกีฬา เสาธง ทางระบายน้ำ เป็นสนามอเนกประสงค์ตั้งกองทุน ประถมศึกษาโรงเรียนโฆสิตสโมสรใช้ดอกผลช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลนชื่อ “กองทุนประถมศึกษาโรงเรียนโฆสติสโมสร” 
         7 กรกฎาคม 2546 โรงเรียนโฆสติสโมสรโอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 3 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการหนึ่ง อำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน เขตบางกอกน้อยของกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมโครงการแกนนำการศึกษาพิเศษเรียนร่วม สำนักงานการศึกษาพิเศษส่วนกลาง พ.ศ.2547
        - ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับเงินสนับสนุนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท)
        - ได้รับมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จำนวน 20 เครื่องจากพระเทพวิสุทธิเมธี (เจ้าคุณเที่ยง) จำนวน 10 เครื่อง และพระครูวินัยธรประทีปเขมปทีโป จำนวน 10 เครื่อง เป็นเงิน 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) 
        - ได้รับมอบจานดาวเทียมไทยธรรมจากผู้ปกครองนักเรียนชื่อคุณจุฑารัตน์  เริงหทัยธรรมเป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท(หกพันบาทถ้วน) 
        พ.ศ. 2548 
        - ได้รับมอบอปุกรณ์สัญญาณดาวเทียม จากมูลนิธิดาวเทียมทางไกลการศึกษา เพื่อใช้  ในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนของครูและนักเรียน               
        - ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการโรงเรียนในฝันเป็นเงิน  1,107,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสน เจ็ดพันบาทถ้วน)  และการมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนจำนวน 30 เครื่องโดยนำเงินมาพัฒนาปรับปรุงห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ห้องสมุดห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ให้มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย                          
        - ได้รับเงินสนับสนุนจากวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นจำนวนเงิน  1,147,000  บาท  (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)  โดยนำมาจัดหาคอมพิวเตอร์ จำนวน 30 เครื่องและปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนให้น่าอยู่น่าเรียน
        23 กุมภาพันธ์ 2549
        - ได้รับการประเมินผ่านเป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน เขตบางกอกน้อย  ระดับประถมศึกษา เป็นโรงเรียนแรก ของสพท.กทม.เขต 3 
        - ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ 2549 ปีแห่งการ ปฏิรูปการเรียนการสอน
        - ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่างประจำปี ๒๕๔๙ จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
        - ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนต้นแบบ “เงินทองของมีค่า”  เป็นโรงเรียนต้นแบบประจำ จังหวัดจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  
        - การได้รับรางวัลชมเชยการประกวดโครงการ หนึ่งอำเภอหนึ่งนวัตกรรม  
        - การได้รับรางวัลดีเด่นโครงการห้องสมุดมีชีวิต จากสพท.กทม.เขต 3  
        - การได้รับรางวัลส่งเสริมรักการอ่านคือรางวัลชมเชยผู้บริหารรักการอ่าน นางสุมน พิมพ์เงิน,  รางวัลยอดเยี่ยม  นางอรพิณ  ไทยสุโข, รางวัลดีเด่นเด็กหญิงยุรฉตัร  พุ่มเกตุ นักเรียนชั้น ป.5 
        - การได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการเยาวชนพลยุติธรรมและได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท  
        - นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันทักษะการวาดภาพด้วยโปรแกรม Paint และรางวัลชมเชยการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการช่วงชั้นที่ 2 จากโรงเรียนโพธิสารพิทยากร 
        - การเข้าร่วมโครงการประเมินสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กไทย เก็บข้อมูลความสามารถทางเชาว์ปัญญาจากเด็ก  นักเรียนโดยการสุ่มจากกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข
        พ.ศ. 2550 
        - การได้เข้าเยี่ยมคาวระฯพณฯนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ โดยความร่วมมือกับมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ  เพื่อเยาวชนซึ่งให้ทุนนักเรียนต่อเนื่องตลอดมา ได้คัดเลือกให้ ด.ช.สุรพงษ์ อานอาชา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อ วันที่  11  มกราคม  2550 
        - การเป็นโรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิตประจำปีการศึกษา 2550
        - การเป็นโรงเรียนต้นแบบ การสร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีด้านความยุติธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต
        - การเข้าร่วมโครงการกระบวนการคิดสู่ห้องเรียน 
        - การเข้าร่วมโครงการพัฒนาการเรียนรู้ที่สอดคล้องการพัฒนาทางสมอง (BBL) เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน            
        - การเข้าร่วมโครงการ โรงเรียนรวมพลังหารสอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
        - การเข้าร่วมโครงการ รุ่งอรุณ 4 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย  บูรณาการการเรียนการสอนด้านพลังงาน
        - การเข้าร่วมโครงการเดอะพิซซ่า คอมปะนี ชวนน้องอ่าน ประจำปี 2550
        - การได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เรื่องการบริหารแบบมี ส่วนร่วมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนามาตรฐานด้านการอ่านออกเขียนได้ โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการ อ่านของผู้เรียน ปีการศึกษา 2550 
        - การได้รับรางวัลมีผลงานที่แสดงถึงวิธีปฏิบัติที่ดี(Good practice) และได้นำเสนอในงาน EDUCATION  INNOVATION SYMPOSIUM 2007: From Strategy to Quality of Learners
        - การได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ปีการศึกษา2550 จากสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม โครงการเยาวชนพลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติฉลองครบ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
        - การได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
        - การได้รับรางวัลรองผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น จากสมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย
        - การได้รับเงินบริจาคจากวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารเป็นเงิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาท) เพื่อพัฒนาปรับปรุงห้องส้วมนักเรียนชายและหญิงทั้ง 2 ชั้นจำนวน 30 ห้อง, ห้องสุขาครู    8  ห้อง ,อ่างล้างมือ จำนวน 3 แห่ง (หน้าอาคารเรียนและหน้าห้องเรียนอนุบาล), ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ระบบเครื่องเสียง, โทรทัศน์จำนวน  4  เครื่อง, ผ้าม่าน, เหล็กดัด, ปูกระเบื้องฝาผนัง, เครื่องดนตรีเมลโลเดียน, ห้องประชุมโรงเรียน                
        พ.ศ.2551
        - การเข้ารับโล่และประกาศเกียรติคุณให้กับครูผู้สอน ได้รับรางวัลการเขียน แผนการจัดการเรียนรู้ ชุด เงินทอง ของมีค่า  คือ นางจันทร์เพ็ญ  คล่องแคล่ว ประเภทดีเด่น
        - การเข้าร่วมประกวดแต่งคำประพันธ์ ช่วงชั้นที่ 1-4 ตามโครงการส่งเสริมความสามารถ การเขียนร้อยกรองและการอ่านออกเสียงภาษาไทย ผลการประกวดระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รางวัลชนะเลิศ เด็กหญิงแก้วขวัญ สุนทรมณี และ เด็กหญิงพิชชากร ศาลิคปุต์ และได้รับโล่ และเกียรติบัตรจากนายกรัฐมนตรี ท่านสมัคร สุนทรเวช เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ                 
        - การเข้าร่วมประเมินโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต และการประกวดนักเรียน ครู  ผู้บริหารรักการอ่าน  ผลการประกวดคัดเลือกนักเรียนรักการอ่านประจำปีการศึกษา 2551  ระดับประถมศึกษาขนาดกลาง คือเด็กหญิงจุฬาลักษณ์ ภิกขุวาโย ได้รับรางวัล ยอดเยี่ยม และครูรักการอ่าน คือนางปริญญรัตน์  พลวิชัย ได้รับรางวัลชมเชย                  
         - การเข้าร่วมโครงการประกวดโรงเรียนและนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรมและนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติจริงโดยธนาคารออมสินสนับสนุนงบประมาณ ผลการประกวดได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  
        - การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา ประเภทที่ 1 รุ่นที่ 2  ได้ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประเภทที่ 1  ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง อ่านคล่องร้อยกรองไทย   (นางอรพณิ ไทยสุโข)   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ       เรื่องการพัฒนาทักษะการคิดเทคนิคที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ (นางพิมพ์ศิลป์ การสนัด) การจัดการศึกษาปฐมวัย  การพัฒนาทักษะการคิดและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการหางานของสมอง (นางภารดี  เดชะรัฐ)                  
        - การเข้าร่วมโครงการเยาวชนร่วมใจ ลดน้ำเสีย คืนน้ำใสให้เจ้าพระยา  เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับกรมควบคุมมลพิษ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณ 108,000 บาท        
        - การเข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านตรวจการวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงานในอาคารส่วนราชการ  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน                  
        - การเข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหาธรรมะสัปดาห์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี                   
        - การเข้าร่วมกิจกรรมอาราธนาในพุทธศาสนพิธี งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา        
        - การมอบสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ โครงการปลูกปัญญา ปี 2551 โดยบริษัททรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มอบชุดอุปกรณ์รับสัญญาณผ่านดาวเทียม เครื่องรับโทรทัศน์ 29 นิ้ว จำนวน  1  เครื่อง  พร้อมช่องรายการสาระความรู้จากทรูวิชั่นส์  (ยูบีซี)  รวม  40  ช่อง     
        - การรับมอบระบบสายดินสำหรับตู้น้ำดื่มในโรงเรียน   การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  ได้จัดทำโครงการติดตั้ง ระบบสายดินสำหรับตู้น้ำดื่มในสถานศึกษา เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียน
        พ.ศ.2552  กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        พ.ศ.2551 ให้โรงเรียนโฆสิตสโมสรเป็น โรงเรียนที่มีความพร้อมในการใช้หลักสูตรฯ
        - โครงการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-3 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้การสนับสนุนงบประมาณ เป็นเงิน 6,000 บาท
        - โครงการพัฒนาข้อสอบเลือกตอบเพื่อพัฒนาเป็นข้อสอบมาตรฐาน สำหรับใช้เป็นเครื่องมือวัดผลและประเมินผล การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
        - แหล่งศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการออกแบบการเรียนรู้สำหรับ ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จำนวน 120 คน  เมื่อวันที่ 28  สิงหาคม 2552  เวลา 9.00-16.00 น. โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้พิจารณาให้เป็นแหล่งศึกษางานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
        - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดในระดับจังหวัด โครงการเยาวชนร่วมใจ ลดน้ำเสีย คืนน้ำ ใสให้เจ้าพระยา กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและบริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน)
        - ครูดีในดวงใจ ประจำปี 2553 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3              
จำนวน  2 ราย คือ นาง ประภาศิริ  ผดุงพัฒน์ ระดับครูผู้สอนปฐมวัย  นางกฤษณา  อย่าเคลิ้มจิตรระดับช่วงชั้นที่  2
        - โครงการเดอะพิซซ่าคอมปะนี ชวนน้องอ่านปีที่ 8 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน โดยร่วมกับเดอะพิซซ่าคอมปะนี นักเรียนที่อ่านครบ 16 ครั้ง มีสิทธิ์รับใบประกาศนียบัตร 
        - โครงการมือเล็กลดโลกร้อน เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักถึงปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนร่วมกับทางคณะวิทยาการจัดการ
        - การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลักสูตร 5 ปี โปรแกรม วิชาการศึกษาปฐมวัย ศึกษาสังเกตสภาพการจัดการเรียนการสอนจริงของสถานศึกษา งานบริหาร  งานบริการงานกิจการนักเรียน งานด้านการจัดการเรียนการสอนของครู จำนวน 10 ครั้ง
        - โครงการ แกะ ล้าง เก็บ รีไซเคิลพิทักษ์โลกช่วยลดโลกร้อน บริษัท เอบี ฟู้ดแอนด์เบฟเวอร์เรจส์ จำกัด เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องการจัดการวัสดุเหลือใช้ กล่องนม UHT แนะนำวิธีการ แกะ ล้าง เก็บ เพื่อรีไซเคิล ช่วยลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจก การเผาหรือฝังขยะ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6   
        - เป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2552 กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ให้โรงเรียนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ ภาษาไทย ร้อยละ 43.43 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 33.22 วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 45.85 ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 28.94 สังคมศึกษา ร้อยละ 45.00 สุขศึกษา ร้อยละ 50.00 ศิลปะ ร้อยละ 50.00 การงานเทคโนโลยี ร้อยละ 50.00 
        พ.ศ.2553 
        - การประเมินพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากพระมหาบัณฑิตฉยาปภสสฺโร วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร   
        - การประเมินโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่างประจำปี  2553 ได้รับเกียรติบัตรการรักษา มาตรฐานโรงเรียน ประชาธิปไตยตัวอย่างต่อเนื่อง ประจำปี  2553  
        - การประกวดรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย ชั้น ป.1-ม.3 ตามโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาคือ นางอรพิณ ไทยสุโข, นางดารณี คงกระพันธ์, นางกฤษณา อย่าเคลิ้มจิตร 
        - การคัดเลือกและรับใบประกาศเกียรติคุณ ครูดีเด่น เนื่องในวันครู ประจำปี  พ.ศ.๒๕๕๔ ของสพป.กทม.๑ คือ นางสาวสุมาลี  เลี้ยงถนอม  นางชูรัตน์           ทีประวิภาต  นางวิลดา  ภาษานนท์ 
        - การเข้ารับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 2 ประจำปี 2552 จากสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ  คือ  นางสาวจรีย์พร โน๊ตชัยยา
พ.ศ.2554  งานศิลปะหัตกรรมนักเรียนภาคกลางและภาคตะวันออก ครั้งที่ 61 ปีการศึกษา 2554  ณ จังหวัดกาญจนบุรี    
        - รางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศ อันดัน 2 กิจกรรมวาดภาพระบายสี ระดับชั้น ป.1-3               
        - รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมวาดภาพระบายสี ระดับชั้น ป.4-6    
        - รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ระดับชั้น ป.4-6    
        - รางวัลเหรียญทองแดง กิจกรรมประติมากรรมลอยตัว ระดับชั้น ป.1-3   
        - รางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้ใบตองพานพุ่มสักการะ ระดับชั้น ป.4-6   
        - รางวัลระดับเหรียญทองแดง กิจกรรมวาดภาพระบายสีประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ระดับชั้น ป.4-6 
        - รางวัลหนึ่งแสนครูดีคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 นางอรพิณ ไทยสุโข 
นางภารดี  เดชะรัฐ นางชูรัตน์ ทีประวิภาต  นางพิมพ์ศิลป์ การสนัด นางกฤษณา อย่าเคลิ้มจิตร
นางดารณี คงกระพันธ์  นางสุภาพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา  นางพันทิพา อินทระมารุต  
        -  รางวัลครูผู้สอนดีเด่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นางพิมพ์ศิลป์  การสนัด
        พ.ศ.2555   
        - รางวัลครูผู้สอนดีเด่น ระดับปฐมวัย นางภารดี เดชะรัฐ     
        - คุรุสดุดี  นางพิมพ์ศิลป์  การสนัด                
        - รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “หนึ่งแสนครูดี” ประจำปี 2555  ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของ วิชาชีพทางการศึกษา นางสาวจรีย์พร             โน้ตชัยยา,นางสุมน  พิมพ์เงิน , นางวิไลพร  วิเศษสมิตนางจนัทร์ทิรา อารีราษฎร์ , นางปิยะมิตร เมธาธีระนันท์ ,นางประภาศิริ ผดุงพัฒน์, นางวิลดา  ภาษานนท์